ASA Resin คืออะไร

 เป็นส่วนผสมที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในวงกาพลาสติกว่ามีความทนทานต่อการใช้ภายนอกอาคาร ASA เรซิ่นมีความทนทานต่อแรงดัดโค้ง ทนทานต่อแสงแดด สีไม่ซีดจาง ไม่กรอบแตก และทนการกัดกร่อน
GE Plastics เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีความสำคัญมากต่อประวัติศาสตร์การพัฒนา ASA และยังเป็นผู้คิดค้นหลังคา PVC ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ย้อนกลับไปเดือนมีนาคม คศ. 2003 หลังคา ASA เรซิ่น ถูกนำมาใช้เป็นหลังคาโรงงานนับเป็นพันๆโรงงานในประเทศจีนเพื่อทดแทนหลังคาเหล็ก (Metal Sheet) และหลังคากระเบื้อง
สาเหตุอันเป็นแรงจูงใจมาจากคุณสมบัติที่สามารถตอบโจทย์แก้ปัญหาอันเป็นจุดอ่อนของการใช้หลังคาเหล็ก (Metal Sheet) และหลังคากระเบื้องได้เป็นอย่างดี  แต่อย่างไรก็ตามสีของหลังคา ASA ในเวลานั้นยังไม่มีความทนทานต่อการซีดจางต่อแสงแดด
จุดเปลี่ยนแปลงคุณภาพได้มาถึงเมื่อ GE Plastics ทราบถึงปัญหาจึงได้พัฒนา Geloy™ ASA เรซิ่นคุณภาพสูง มาแก้ปัญหานี้เอาไว้ได้
โครงการผลิตแผ่นหลังคา Geloy™ ASA/PVC  เริ่มต้นเมื่อเดือนมีนาคม 2002 โดยทีมวิจัยของโรงงานผู้ผลิตหลังคาบาวเยนได้ร่วมมือกับทีมวิศวกรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา แต่ในระหว่างการทดลองนั้นมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ตลอดเวลา และปัญหาใหญ่ที่สำคัญคือเราไม่สามารถผลิตแผ่นหลังคา Geloy™ ASA/PVC โดยการปิดหรือฉาบ Geloy™ ASA เรซิ่น ลงบนผิวของPVC เนื่องจากชั้นของทั้งสองชนิดมันไม่สามารถติดกันได้ด้วยวิธีง่ายๆนั่นเอง วิธีคิดแก้ปัญหานี้โดยการนำเอาเทคโนโลยี่ใหม่มาใช้ในการผลิตที่เรียกว่าระบบco-extrude นั่นเอง  คือการหลอมเหลววัตถุดิบแต่ละชนิดแล้วฉีดออกมารวมกันเป็นชั้นๆ(เหมือนทำขนมวุ้นหลายชั้น)
ในทางอุสาหกรรมเราเรียกแผ่นหลังคาที่เกิดจากการนำเอาวัสดุตั้งแต่สองชนิดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันว่า หลังคาสังเคราะห์นั่นเอง เป็นการคัดสรรสังเคราะห์เอาคุณสมบัติเด่นๆของ PVC และ ASA มาใช้เช่น คุณสมบัติการมีน้ำหนักเบา ทนต่อกรด ด่าง เกลือ ทนต่อสภาพ๓มิอากาศที่เลวร้าย มีความเหนียว ยืดหยุ่น ไม่กรอบแตก สีทนนาน และใส่สารเพิ่มเติมบางอย่างเพื่อให้มีคุณสมบัติไม่ลามไฟ พร้อมๆกับการกำจัดจุดอ่อนของปัญหาของการใช้หลังคาเหล็ก (Metal Sheet) เช่นการผุกร่อน เกิดสนิม จากสารเคมีและไอทะเล การส่งถ่ายความร้อนมายังใต้หลังคาได้ดี  และ การก่อเกิดอันตรายจากสารแร่ใยหินของหลังคากระเบื้องซิเมนต์ เป็นต้น
Extended Reading
·     Copolymer - a polymer derived from two (or more) monomeric species, as opposed to a homopolymer where only one monomer is used. (Source: Wikipedia)
Download